ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ซีแอลยาพ่นพิษ นายกพรีม่า-สมาคมเภสัชฯดิ้นสู้ขอเปิดข้อมูลถูกร้องเรียนทำผิดจรรยาบรรณ-กวฉ.สั่งยกอุทธรณ์

 


 
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18:40:13 น.  มติชนออนไลน์

ซีแอลยาพ่นพิษ นายกพรีม่า-สมาคมเภสัชฯดิ้นสู้ขอเปิดข้อมูลถูกร้องเรียนทำผิดจรรยาบรรณ-กวฉ.สั่งยกอุทธรณ์

นายกสมาคมเภสัชกรรม-พรีม่า ดิ้นสู้ถูกกล่าวหาประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ อุทธรณ์ให้สภาเภสัชกรรมเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ร้องเรียน แต่คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารยกอุทธรณ์ เพราะเรื่องอยู่ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง

คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร(กวฉ.)สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย มีคำวินิจฉัย(ที่ สค 95/2552)ให้ยกอุธรณ์ของนาย
ธีระ ฉกาจนโรดม นายกเภสัชกรรมสมาคมและนายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทยาข้ามชาติกว่า 30 บริษัทกรณีที่นายธีระยื่นอุทธรณ์ขอให้สภาเภสัชกรรมเปิด เผยข้อมูลข่าวสารที่นายธีระ ฉกาจนโรดม ถูกร้องเรียนเรื่องว่า ประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่องประกาศ บังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) กับยาจนอาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าว โดยกวฉ.สาขาสังคมให้เหตุผลว่า อยู่ระหว่างที่สภาเภสัชกรสอบสวนข้อเท็จจริง การเปิดเผยข้อมูลจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมว่า กรณีดังกล่าว นายธีระซึ่งเป็นเภสัชกรด้วย ถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม จึงมีหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2552 ถึงเลขาธิการสภาเภสัชกรรม เพื่อขอข้อมูลข่าวสารจำนวน 2 รายการ ได้แก่
1. รายชื่อคณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดที่ 3 และ
2. หนังสือร้องเรียนลงวันที่ 13 มิถุนายน 2551 จำนวนครบทุกหน้า มีรายชื่อผู้ลงลายมือในเอกสารครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ปกป้องสิทธิของตนเองต่อไป

 

อย่างไรก็ตามม สภาเภสัชกรรม มีหนังสือ แจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 ทั้งหมด ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการที่ 2 เปิดเผยเฉพาะประเด็นสาระของข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า  การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อม ประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา 15 (2) แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

 

กวฉ.สาขาสังคม พิจารณาแล้ว สรุปความได้ว่า สภาเภสัชกรรมได้รับการร้องเรียนเรื่องจรรยาบรรณเภสัชกรของผู้อุทธรณ์(นายธีระ ฉกาจนโรดม) จากกรณีที่ผู้อุทธรณ์ในฐานะนายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2551 โดยกล่าวว่า "ยินดีกับความคิดของนายไชยาที่เห็นว่าในอนาคตการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) กับยาอาจไม่จำเป็น เพราะได้ทำซีแอลกับยาที่จำเป็นแล้ว และถือว่านายไชยาเป็นผู้มีมารยาทในการทำงานอย่างมาก เพราะสิทธิบัตรยาเป็นเรื่องที่ต่างประเทศได้ทุ่มเงินลงทุนวิจัยอย่างมหาศาล แต่อยู่ดีๆ จะมายึดเอาทรัพย์สินทางปัญญาไป เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง"

 

กลุ่มผู้ร้องเรียนเห็นว่า จากคำกล่าวข้างต้นทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม และไม่เหมาะสมกับฐานะการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ผู้อุทธรณ์ยังเป็นนายกเภสัชกรรมสมาคมซึ่งเป็นกรรมการสภาเภสัชกรรมโดยตำแหน่ง แต่ได้กล่าวถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาโดยเจตนาว่า การประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) เป็นการยึดเอาทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นการให้ความเห็นโดยไม่สุจริตแก่สาธารณชน เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวมิได้เป็นการยึดเอาทรัพย์สินทางปัญญา แต่อย่างใด

 

ในทางกลับกันการดำเนินการดังกล่าวถูกต้องตามข้อตกลงการค้าโลกว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และพ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2535 ของประเทศไทย

 

นอกจากนี้ บริษัทเอกชนก็สามารถขายผลิตภัณฑ์ของตนต่อไปได้โดยปกติ มิได้มีการยึดทรัพย์สินของบริษัทแต่อย่างใด อนึ่ง ผู้อุทธรณ์มิได้ให้ความเห็นครั้งนี้เป็นครั้งแรกแต่ได้ประพฤติและกระทำการเช่นนี้ต่อสาธารณชนมาหลายครั้งหลายหนแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการผลิตข้อบังคับสภาเภสัขกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่ง วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2538 เนื่องจาก ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่หลอกลวง หรือให้คำรับรองอันเป็นเท็จ หรือให้ความเห็นไม่สุจริตในเรื่องใดๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่แก่สาธารณชน หรือผู้มารับบริการ ให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ จึงขอให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาจรรยาบรรณของผู้อุทธรณ์ต่อไป

 

สภาเภสัชกรรมจึงมอบให้คณะอนุกรรมการสอบสวน ชุดที่ 3 ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องร้องเรียนดังกล่าว โดยในขณะนี้การสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ และผู้อุทธรณ์ได้ใช้สิทธิในการขอข้อมูลข่าวสารในรายการข้างต้นเพื่อนำไปปก ป้องสิทธิของตน แต่ได้รับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้บางส่วน โดยในส่วนที่สภาเภสัชกรรมปฏิเสธการเปิดเผย คือ รายชื่อของผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งผู้อุทธรณ์เห็นว่า การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษไม่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อ ประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้แต่อย่างใด เพราะในการร้องเรียนกล่าวหาผู้อื่นนั้น ผู้กล่าวหาต้องมีความรับผิดชอบโดยต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบก่อนจะ กล่าวหาผู้ใด มิใช่การกล่าวหาลอยๆเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น อีกทั้งการเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษตามกระบวนการยุติธรรมทั้งทางเอกชนและทางปกครอง ผู้ฟ้องหรือร้องเรียนผู้อื่นจะต้องเปิดเผยชื่อของตนเอง เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบถึงคู่กรณี เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือร้องเรียนใช้สิทธิปกป้องตนเองได้ และผู้อุทธรณ์ไม่มีพฤติการณ์ใดที่อาจจะก่อนให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความ ปลอดภัยต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด

 

กวฉ.สาขาสังคม ฯเห็นว่า สภาเภสัชกรรมอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีการร้องทุกข์ กล่าวโทษดังกล่าวซึ่งยังไม่เป็นที่สรุปว่าผู้อุทธรณ์ได้กระทำความผิดตามข้อร้องเรียนจริงหรือไม่ ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน การเปิดเผยรายชื่อผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษในขณะนี้จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 15 (2) แห่งพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 การใช้ดุลพินิจของสภาเภสัชกรรมในการเปิดเผยเพียงสาระของข้อกล่าวหาหรือข้อ กล่าวโทษ จึงชอบแล้ว


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540  กวฉ.สาขาสังคมฯ จึงมีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1251632686&grpid=01&catid=04
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://itceoclub.ning.com
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.logex.kmutt.ac.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://pwdhutch3.blogspot.com
http://energygreenhealth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น