ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระเทพปริยัติวิมล เผชิญแรงต้านปลดรองอธิการฯ"มมร."

วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11477 มติชนรายวัน


พระเทพปริยัติวิมล เผชิญแรงต้านปลดรองอธิการฯ"มมร."


คอลัมน์ คนตามข่าว

โดย ดุษฎี สนเทศ




พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญเมื่อคณะที่ปรึกษากฎหมายเสนอผลสรุปให้ท่านเห็นชอบปลดรองอธิการบดี มมร.พ้นจากตำแหน่ง ฐานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบไปเอื้อประโยชน์ให้บุคคลอื่นกรณีสร้างภาพยนตร์พระไตรปิฎก และสร้างวัตถุมงคลพระพุทธโสธร

ท่ามกลางแรงกดดันจากพระผู้ใหญ่บางรูป และจากการล็อบบี้ของนักการเมืองบางคน มิให้ท่านปลดรองอธิการบดี มมร.รูปดังกล่าว

นามเดิมนายแสวง ลูกอินทร์ เป็นชาว ต.น้ำตาล อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เกิดวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2494 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร ครั้นเมื่อครบเกณฑ์บวชก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2515

ศึกษาจบเปรียญธรรม 5 ประโยค นักธรรมชั้นเอก ปริญญาตรีศาสนศาสตรบัณฑิต มมร. ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดู ประเทศอินเดีย สำเร็จหลักสูตรพระธรรมทูตไปต่างประเทศ คณะสงฆ์ธรรมยุต

สมณศักดิ์เรียงลำดับ ดังนี้ พระมหานายก พระฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช, พระราชเมธาภรณ์ พระราชาคณะชั้นราช, พระเทพปริยัติวิมล พระราชาคณะชั้นเทพ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและกรรมการวัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพฯ ในปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

ประสบการณ์ทำงานสำคัญๆ ได้แก่ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, รองอธิการบดี มมร.ฝ่ายเผยแผ่และวิเทศสัมพันธ์, รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร, รักษาการแทนอธิการบดี, กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ, กรรมการสภามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก และคณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

วันนี้ พุทธศาสนิกชนต่างรอคอยคำวินิจฉัยของอธิการฯ มมร.ด้วยใจระทึก

หน้า 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น