ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"คอราซอน อาคีโน" ผู้นำประชาธิปไตยมาสู่ฟิลิปปินส์

"คอราซอน อาคีโน" วีรสตรีชุดเหลือง ผู้นำประชาธิปไตยมาสู่ฟิลิปปินส์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2552 15:19 น.

คอราซอน อาคีโน อดีตประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ เสียชีวิตแล้ว ขณะที่โลกยกย่องโดยเปรียบเธอเหมือน "โจน ออฟ อาร์ก" สมัยใหม่

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ไทม์ยกย่องให้เธอเป็น "สตรีแห่งปี 1986" หลังจากนำมวลชนขับไล่อำนาจเผด็จการของประธานาธิบดีมาร์กอส

ร่วมพิธีศพของเบนีโญ หลังเขาถูกลอบสังหารจากความขัดแย้งทางการเมือง

มวลชนนับล้านร่วมการปฏิวัติ

พบกับเมแม่ชีเทเรซาในกรุงมะนิลา ในปี 1989

สนับสนุนประธานาธิบดีอาร์โรโยในปี 2003

ชาวฟิลิปปินส์ร่วมไว้อาลัย

ชูมือแสดงสัญลักษณ์ตัว "L " แห่งการต่อสู้ ไฟล์ภาพปี 1989

เอเจนซี - คอราซอน อาคีโน อดีตประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ เสียชีวิตแล้วหลังจากต่อสู้กับมะเร็งลำไส้ใหญ่มานาน 16 เดือน ขณะโลกยกย่องผู้นำหญิงเหล็กคนนี้ว่าเป็นผู้นำประชาธิปไตที่แท้จริงมาสู่แดนตากาล็อก หลังจากโค่นล้มอำนาจอดีตเผด็จการมาร์คอส หนึ่งในผู้นำที่คอรัปชั่นมากที่สุดของโลกในศตวรรษที่ 20
       

       ครอบครัวของนางอาคีโนประกาศข่าวการเสียชีวิตของเธอไปแล้วอย่างสงบเมื่อเวลา 3.18 น.วันที่ 1 สิงหาคม 2009 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
       
       อาคีโน รู้จักกันดีในหมู่ชาวฟิลิปปินส์นับล้านในชื่อ"คอรี" ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจากปี 1986-1992 แต่เป็นที่จดจำในภาพสตรีผอมบางในชุดสีเหลืองที่นำ "การปฏิวัติของพลังประชาชน" โค่นล้มเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำจอมเผด็จการของฟิลิปปินส์
       
       การชุมนุมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 1986 ซึ่งเหตุการณ์ถึงจุงสูงสุดเมื่อชาวฟิลิปปินส์มากกว่า 1 ล้านคนถือดอกกุหลาบและดอกไม้หยุดขบวนรถถังของมาร์กอส ที่กำลังเข้าไปสลายกลุ่มชุมนุมของอาคีโนที่มีกลุ่มทหารแหกข้อหนุนหลัง กลายเป็นการปฏิวัติดั่งเทพนิยายที่โลกจดจำ
       

       ทั้งนี้ การปฏิวัติของเธอเริ่มขึ้นหลังจากที่เบนิโญ สามี ซึ่งเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่ต่อต้านการคอร์รัปชั่นของมาร์กอสถูกลอบสังหารที่สนามบินในกรุงมะนิลา ขณะกลับจากการลี้ภัยในสหรัฐฯ จุดชนวนการประท้วงของผู้ชุมนุมที่กล่าวหาว่ามาร์กอสอยู่เบื้องหลังการสังหาร
       
       เมื่อมาร์กอสและภรรยา ซึ่งกำลังตื่นตะลึงกับเหตุการณ์พลิกผลันต้องหนีออกจากประเทศไป นับเป็นตัวอย่างของการขบถไปทุกแห่งหน จากแอฟริกาใต้ไปสู่อเมริกาใต้และสู่ปากีสถาน ขณะที่อาควีโนได้รับการยกย่องว่าเป็น "โจนส์ ออฟ อาร์ค"สมัยใหม่
       
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้น เธอลังเลที่จะเป็นผู้นำคนใหม่ แต่เธอสลัดฐานะภรรยาของนักการเมืองที่ชื่อเบนิโญออกไป หลังจากที่สามีถูกลอบสังหารในปี 1983 และนำการประท้วงของผู้ชุมนุมที่กล่าวหาว่า มาร์กอสอยู่เบื้องหลังการสังหาร
       
       มาเรีย คอราซอน เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1933 ในตระกูลคอนฮวงโก ครอบครัวร่ำรวยที่สุดครอบครัวหนึ่งในฟิลิปปินส์ เธอเติบโตขึ้นมาในโลกแห่งการเมืองและความมั่งคั่ง บิดาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา 3 สมัย คอโรซอนเรียนที่โรงเรียนกเอกชนในกรุงมะนิลาและจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สาขาภาษาฝรั่งเศสจาก คอลเลจ ออฟ เซนต์ วินเซนต์ ในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ในปี 1954 สมรสกับเบนิโญ นักการเมืองผู้มุ่งมั่นที่สุดคนหนึ่งจากครอบครัวนักการเมืองอีกตระกูล บิเนโญก้าวจากตำแน่งผู้ว่าการจังหวัดไปสู่เก้าอี้วุฒิสมาชิก ก่อนจะได้เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ทั้งคู่มีบุตรสาว 4 คน บุตรชาย 1 คน
       
       มาร์กอสได้รับเลือกตั้งในปี 1965 และประกาศกฎอัยการศึกในปี 1972 เพื่อขจัดการจำกัดการครองอำนาจต่อไป เขายุบสภาและสั่งจำคุกสามีของอาคีโน พร้อมกับผู้ต่อต้าน นักข่าว และนักเคลื่อนไหวอีกหลายพันคนโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา อาคีโนจึงเป็นตัวแทนของสามี เชื่อมั่น และเป็นโฆษกของเขา
       
       ศาลทหารตัดสินประหารชีวิตเบนิโญโดยกล่าวหาว่า เขาพัวพันกับกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ แต่ด้วยแรงกดดันจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ จิมมี คาร์เตอร์ มาร์กอสอนุญาตให้เบนิโญเดินทางออกนอกประเทศไปในเดือนพฤษภาคม 1980 เพื่อรับการผ่าตัดหัวใจในสหรัฐฯ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นการลี้ภัยนาน 3 ปี พร้อมสามีที่มหาวิยาลัยฮาร์วาร์ดกับเพื่อนผู้ลี้ภัย นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว และผู้มาเยือนจากมะนิลา อาคีโนเป็นคนจัดการบ้านผู้เงียบสงบ เลี้ยงลูกทั้ง 5 และเสิร์ฟน้ำชา ห่างไกลจากความยุ่งเหยิงทางการเมืองของฟิลิปปินส์ เธอพรรณาช่วงเวลานี้ว่าเป็นช่วงชีวิตสมรสที่ดีที่สุด
       
       คืนวันอันสงบสุขยุติลงเมื่อสามีของเธอตัดสินใจกลับไปรวมกลุ่มกับฝ่ายค้านอีก ในขณะที่เธอยังคงอยู่ในเมืองบอสตัน เขาบินกลับกรุงมะนิลา ซึ่งเขาถูกยิงขณะที่กำลังก้างลงจากเครื่องบิน
       

       อาคีโนกลับฟิลิปปินส์ใน 3 วันต่อมา จากนั้น 1 สัปดาห์ก็นำขบวนพิธิศพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์โดยมีคนมาร่วมพิธีถึงราว 2 ล้านคน
       
       สาธารณชนต่อต้านมาร์กอสมากขึ้นทำให้เขาต้องประกาศจัดการเลือกตั้ง โดยอาร์กบิชอปแห่งมะนิลาขอให้อาควีโนลงชิงชัยในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 แต่ตอนแรกอาคโนลังเล
       
       "ฉันรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการเป็นประธานาธิบดีเหรอ" เธอกล่าว ก่อนการเลือกตั้งงประธานาธิบดีในปี 1986 ซึ่งต้องลงชิงชัยกับมาร์กอส ในการเลือกตั้ง ซึ่งสมัครทั้งสองคนนี้ต่างอ้างชัยชนะ
       
       สภาแห่งชาติประกาศว่ามาร์กอสชนะการเลือกตั้ง แต่นักข่าว นักสังเกตการณ์ และผู้นำศาสนาจักรกล่าวหาว่า เขาโกงการเลือกตั้ง เมื่อเกิดข้อพิพาทในการเลือกตั้ง กองทัพได้ก่อการขบถต่อมาร์กอสและจับเขาอยู่ในค่ายทหาร 3 วันต่อมา ชาวฟิลิปปินส์หลายแสนตอบสนองคำเรียกร้องของศาสนจักรคาทอลิกเพื่อมาร่วมชุมนุมกลางเมืองหน้าค่ายทหารที่มาร์กอสถูกควบคุมตัว เพื่อป้องกันการโจมตีจากกองกำลังของมาร์กอส ในวันที่ 3 นี้ อาคีโนปรากฏตัวเคียงข้างฝูงชนแห่งการขบถ ซึ่งนำโดยรัฐมนตรีกลาโหม แม้จะมีเสียงทัดทานในเรื่องความปลอดภัย
       
       "เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ประชาชนพลเรือนออกมาเรียกร้องต่อต้านทหาร" เธอประกาศ ขณะที่บรรดาผู้บัญชาการทหารประกาศความภักดีต่อเธอและจับมาร์กอสด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง
       
       ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ผู้นำสหรัฐฯ ที่เป็นพันธมิตรยาวนานของมาร์กอสขอให้มาร์กอสก้าวลงจากอำนาจ "การยืดอายุของระบอบการเมืองปัจจุบันจากการใช้ความรุนแรงนั้นไร้ประโยชน์"ทำเนียบขาวแถลง ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯเสนอพาตัวมาร์กอส ออกจากประเทศ
       
       วันที่ 25 กุมภาพันธ์ มาร์กอสและครอบครัวไปถึงฐานทัพอากาศสหรัฐในกรุงมะนิลา และบินถึงฮาวาย ในวันเดียวกันนี้เองที่อาคีโนเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกของฟิลิปปินส์ ปิดฉากการครองอำนาจยาวนาน 20 ปีของมาร์กอส ขณะที่มาร์กอสเสียชีวิตใน 3 ปีต่อมา
       
       การเป็นประธานาธิบดีของอาคีโนประสบความสำเร็จน้อยกว่าการปฏิวัติ กองทัพพยายามก่อรัฐประหารหลายครั้งทำให้การบริหารราชการของเธออ่อนเปลี้ย เธอได้รับการชื่นชมสำหรับความกล้าท้าทาย แต่ดูจะไม่ได้ก้าวถึงจุดสูงสุดในการปกครองประเทศ
       
       กองทัพเข้ามาแทรกแซงตลอดการปกครองของเธอ ขณะภับพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟปินาตุบูในปี 1991 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหนัก
       
       ในฐานะคาทอลิกที่เคร่งศาสนา อาคีโนหันมาใช้ศรัทธาในการถือหางเรือเพื่อผ่านช่วงวลาอันยากลำบาก
       
       "ไม่เคยมีสักครั้งที่ฉันจะสงสัยว่าพระเจ้าจะไม่ช่วย... ถ้าหากเวลาจะตาย ก็ตาย" เธอกล่าวเมื่อปืนครกของกลุ่มกบฏยิงถล่มทำเนียบประธานาธิบดีในปี 1987
       
       และก็ไม่เคยสงสัยในเรื่องใจสู้ของเธอ
       
       "ฉันไม่ชนะเสมอไปแต่...แต่ฉันไม่เคยหลีกเลี่ยงการต่อสู้" อาคีโนกล่าวในปี 1992 ก่อนที่จะส่งมอบอำนาจต่อให้ฟิเดล รามอส และเธอก็ได้เห็นการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำกัดวาระของประธานาธิบดีแค่ 6 ปี
       
       อาคีโนดูบอบบางและอ่อนแอลงในปีต่อๆ มา แต่ยังคงอยู่ในเกมการต่อสู้เมื่อเธอเห็นว่าจำเป็น เธอพาคนครึ่งล้านออกมาตามท้องถนนในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อรามอส ผู้สืบอำนาจต่อจากเธอพยายามที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปอีก
       
       เธอเกี่ยวข้องกับการประท้วงที่ทำให้การดำรงตำแหน่งประธานษธิบดีของโจเซฟ เอสตราดาสิ้นสุดลงในปี 2001 และยังสนับสนุนการเคลื่อนไหวในปัจจุบันเพื่อพยายามขับไล่ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย หลังจากพันธมิตรครั้งหนึ่งของเธอผู้นี้ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นและโกงการเลือกตั้ง
       
       "วันนี้ฟิลิปปินส์สูญเสียมรดกแห่งชาติ เธอช่วยนำประเทศชาติไปสู่วันที่สว่างไสวขึ้น" อาร์โรโยกล่าวเมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของนางอาคีโน
       
       ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบัน บารัค โอบามา กล่าวยกย่องว่า "ความอาจหาญของเธอ ความมุ่งมั่น และการเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เราทุกคน และถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของชาวฟิลิปปินส์"
       
       ด้านอิเมลดา มาร์กอส คู่ปรปักษ์ทางการเมือง ซึ่งเดินทางกลับมาฟิลิปปินส์หลังจากที่สามีเสียชีวิตระหว่างลี้ภัยกล่าวว่า "ตอนนี้คอรีอยู่กับพระเจ้าแล้ว พวกเราทั้งหมดจงรวมใจเป็นหนึ่งและจงสวดมนต์ให้แก่เธอและชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมด"
       
       ก่อนที่จะเสียชีวิต อาควีโนกลับมาญาติดีกับเอสตราดา และอนุญาตให้เขาเข้าเยี่ยมเธอได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       "เธอเป็นผู้หญิงที่ทั้งเข้มแข็งและงดงาม วันนี้เราได้สูญเสียมารดาของชาติแล้ว" เอสตราดากล่าวในวันที่นางอาคีโนจากไป สิริรวมอายุ 76 ปี
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087138


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.familynetwork.or.th
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น